Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ไข้หวัดใหญ่ & COVID-19 ความเหมือนที่แตกต่าง

17 เม.ย. 2563


   การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (COVID-19) นับวันยิ่งขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด องค์กรอนามัยโลก (WHO) มีการประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาดทั่วโลก (Pandemic)  แต่ด้วยความที่อาการของ COVID-19 มีความคล้ายคลึงกับ ไข้หวัดใหญ่  วันนี้เราได้รวบรวมคำถามยอดฮิต เพื่อมาแถลงไขข้อสงสัย ไว้ในที่นี่แล้ว  เพื่อจะได้เป็นการสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง ก่อนจะเดินทางเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลในขั้นตอนต่อไป

Q : ไข้หวัดใหญ่ กับ Covid-19 มาจากไวรัสตัวเดียวกันใช่ไหม?
A :
Coronavirus (CoV) เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ใน Family Coronaviridae ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่ (Influenza H1N1) เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ใน Family Orthomyxoviridae ถึงแม้จะมีรูปร่างคล้ายๆ กัน แต่ไม่ใช่ไวรัสชนิดเดียวกัน ไวรัส CoV เป็นเชื้อก่อโรคทั้งในคนและสัตว์ โดยก่อนหน้านี้มีโรคหวัดในคนที่เกิดจากเชื้อ CoV 6 สายพันธุ์ ได้แก่ โรคหวัดตามฤดูกาล 4 สายพันธุ์ ซึ่งอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS) ในปี 2002 และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) ในปี 2012 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อกลุ่ม Influenza เท่านั้น จึงไม่สามารถป้องกัน COVID-19 ได้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Q : เชื้อไวรัสโควิด-19 มีชีวิตอยู่ในอากาศ สิ่งของต่างๆ ได้นานกี่วัน?
A :
ยังไม่มีวิจัยที่แน่ชัดว่ากี่วัน ขึ้นอยู่กับสภาพของวัตถุ อุณหภูมิความชื้นในอากาศ และการระบายอากาศในบริเวณนั้นๆ แต่โดยทั่วไปเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ออกมากับสารคัดหลัง เช่น น้ำมูก หรือ น้ำลาย จะลอยอยู่ในอากาศได้ประมาณ 5 นาที ก็จะตกสู่พื้นในระยะ 1 - 1.5 เมตร แต่หากออกมากับหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอย (Aerosol Generating Procedures : AGP) เชื้อสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 3 ชั่วโมง สำหรับเชื้อไวรัสที่อยู่บนพื้นต่อสามารถอยู่ต่อได้อีกหลายชั่วโมง เช่น พื้นผิวที่เป็นพลาสติกแข็งไม่มีรู อยู่ได้ถึง 72 ชั่วโมง และในอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสนั้น สามารถอยู่ได้นานถึง 1 เดือนเลยทีเดียว

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Q : อาการแตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ตรงไหน?
A :
ไข้หวัดใหญ่มีอาการเด่นคือ ไข้สูง และปวดเมื่อยเนื้อตัวมาก อาจจะมีอาการเจ็บคอและคัดจมูกร่วมด้วย แต่ไม่ค่อยพบน้ำมูก บางรายโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย ในขณะที่ COVID-19 อาการเด่นจะเป็น  ไอแห้งๆ และมีไข้ไม่สูง ไม่ค่อยพบน้ำมูก หากมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Q : ตรวจหาเชื้อตอนไหนดี?
A :
มีอาการป่วย หรือ สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง หากมีชุดตรวจที่เพียงพอ ควรตรวจทุกคนที่สงสัย แต่ในกรณีที่ชุดตรวจมีจำนวนจำกัด แนะนำให้ตรวจเมื่อ มีความเสี่ยงของการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมกับ มีอาการ และ มีไข้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Q : ผู้ป่วยที่รักษาจนหายแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้ไหม?
A :
มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกครั้ง หากไม่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง แต่ในรายงานสถานการณ์ตอนนี้ มีผู้ป่วยที่กลับมาป่วยซ้ำน้อยมาก

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Check Listสังเกตอาการ ไข้หวัดใหญ่ VS COVID-19 !!

อาการ
ไข้หวัดใหญ่   COVID-19
มีไข้สูงเฉียบพลัน -
มีไข้อ่อนๆ  (หลายวัน) -
ปวดศีรษะ
อ่อนเพลีย (ปวดเมื่อยตามร่างกาย)
เริ่มเบื่ออาหาร -
ไอแห้ง (ไม่มีเสมหะ) -
มีน้ำมูก -
หายใจติดขัด หอบเหนื่อย -
เจ็บคอ

 

How To…วิธีป้องกัน !!

ไข้หวัดใหญ่ COVID-19


 • เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทุก ๆ 1 ปี เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน
    ให้กับร่างกาย และลดความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้นได้

 • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง       

 • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์
 • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
 • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด  


การรักษา

ไข้หวัดใหญ่     
COVID-19
 • ชุดตรวจมีแพร่หลาย รู้ผลตรวจภายใน 1 ชั่วโมง  • การรักษาแบ่งตาม อาการโรคร่วม ความรุนแรงของโรค และการพบปอดอักเสบร่วมด้วย

 • มียาต้านไวรัสใช้อย่างแพร่หลาย กินครั้งละ 1 เม็ด เช้า เย็น เป็นเวลา 5-10 วัน

 

 • ยาต้านไวรัสที่เฉพาะเจาะจง ยังมีจำนวนจำกัด เนื่องจากพึ่งเริ่มผลิต กินครั้งละ 3-8 เม็ด เช้า เย็น กิน 5-10 วัน ร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่นๆ อีก 2-3 ชนิด


สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. กันต์  โอโกโนกิ สาขาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ, สาขาเวชบำบัดวิกฤต
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1745

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.